Thursday, August 30, 2007

กวีชื่อว่าว่างเปล่า

มีบทกวีบทหนึ่ง

เขียนขึ้นมาโดยความว่างเปล่า

จนบัดนี้ยังไม่มีใครได้เห็นมัน

Sunday, August 19, 2007

ณ จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์ อนาคตโลก .อนาคตไทย (1)

โดย ยุค ศรีอาริยะ ผู้จัดการออนไลน์ 15 สิงหาคม 2550



.
วันนี้ สภาวะวิกฤตธรรมชาติดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และก่อตัวขึ้นหลายจุดในโลกพร้อมๆ กัน ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอากาศร้อนจัดอย่างไม่เคยมีมาก่อน คนนับร้อยตายด้วยคลื่นความร้อนในยุโรป ประเทศญี่ปุ่นก็เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ประชาชนจีนต้องเผชิญอุทกภัยครั้งใหญ่

ดูราวว่า ธรรมชาติกำลังส่งสัญญาณบางอย่างให้มนุษยชาติรับรู้เสมือนอยากสื่อบอกเราว่า

“วิบัติภัยครั้งใหญ่ และรุนแรงอย่างยิ่ง กำลังใกล้มาถึง”

ในยามที่ธรรมชาติตั้งเค้าวิกฤตใหญ่ วิกฤตเศรษฐกิจ (วิกฤตน้ำมัน และ วิกฤตค่าเงินดอลลาร์) ก็ก่อขยายตัวขึ้น ในขณะเดียวกัน ระบบการเมืองก็วิกฤต เกิดสงคราม และการเข่นฆ่ากัน

ผู้คนจำนวนหนึ่งมักจะเดินหลงทาง หลงเข้าสู่โลกแห่งสงคราม เข่นฆ่า และทำลายล้างกัน

โดยที่ไม่มีใครสักคนเข้าใจว่า

“การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาคือ อวิชชา”

การฆ่า และการทำลายล้างกัน ยิ่งเพิ่มพูนกระแสแห่งวิกฤตให้รุนแรงขึ้นไปอีก ทางออกจากวิกฤตจึงยิ่งมืดมนลง

วันก่อนเจอเพื่อนเก่าคนหนึ่งโดยบังเอิญ ท่านเป็นนักลัทธิมาร์กซ์ ที่ยังคงยืนหยัดในความเป็นลัทธิมาร์กซ์ ท่านนำเสนอแนวคิดว่า วันนี้ พวกเราต้องโค่นล้ม “ศัตรู” ซึ่งท่านหมายถึงบรรดาชนชั้นศักดินา

ท่านยังหลงเชื่อ “ทฤษฎีซ้ายโบราณ” ที่ชอบสอนให้คนทำสงครามทางชนชั้นกัน และคิดว่าเมื่อโค่นล้มชนชั้น (ศัตรู) ลงไปแล้ว ท้องฟ้าจะสีทองผ่องอำไพ

คนที่ศรัทธาอะไรอย่างสุดๆ ก็มักจะติดยึดกับความเชื่อของตัวเอง และคิดว่าสิ่งที่ตนเองเชื่อ จริงแท้แน่นอน เป็นสัจธรรมสูงสุด

ผมตั้งประเด็นถามว่า

“ถ้าประชาชนโค่นชนชั้นศักดินาลงไป แล้วบรรดานายทุนก็จะขึ้นมาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน คนยากจนจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริงๆ หรือ”

ความจริงตามหลักทฤษฎีมาร์กซ์แล้ว ชนชั้นกรรมาชีพต้องโค่นล้มชนชั้นนายทุน เพราะบรรดานายทุนคือ “ศัตรู” ที่สำคัญที่สุดของชนชั้นกรรมาชีพ สำคัญมากกว่าบรรดาศักดินาเสียอีก เนื่องจากชนชั้นนายทุนคือ ชนชั้นที่กดขี่ขูดรีดชนชั้นกรรมาชีพโดยตรง

แต่ที่แปลกอย่างยิ่งกว่านี้คือ เพื่อนผมคนนี้ประกาศตัวว่าเป็นตัวแทนของชนชั้นกรรมาชีพ แต่กลับศรัทธานายทุนเอามากๆ โดยเฉพาะนายทุนที่โคตรโกง อย่างเช่นคุณทักษิณ

วันก่อนไปสอนหนังสือปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

นักศึกษาคนหนึ่งถามผมว่า

“ทำไมกรรมการสิทธิมนุษยชนท่านหนึ่งจึงไปยืนอยู่ข้างผู้ที่มีประวัติในด้านสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายที่สุด เท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ประเทศไทย”

ผมตอบว่า

“ไม่รู้เหมือนกัน ท่านอาจจะจงเกลียดจงชังเผด็จการทหารเอามากๆ”

ผมกล่าวถึงเรื่องนี้ ไม่ได้หมายความว่าบรรดาเพื่อนๆ ผมจำนวนหนึ่งที่ไปเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคนรักทักษิณคิดผิด หรือกระทำผิด

เขากระทำอย่างเชื่อมั่นด้วยหลักคิดและทฤษฎีที่ช่วยยืนยันว่าที่พวกเขากระทำนั้นถูกต้อง (ตามจุดยืน และทฤษฎีที่พวกเขาหลงเชื่อ)

คนยึดทฤษฎีแบบซ้ายเก่าๆ และแนวคิดต้านเผด็จการทหารแบบเก่าๆ จึงมักมีบทสรุปง่ายๆ ว่า “ศักดินา” มีค่าเท่ากับ “เลวทราม” และ “ล้าหลัง” และ “ทหาร” มีค่าเท่ากับ “เผด็จการ”

ผมบอกนักศึกษาว่า

ทฤษฎีเก่าๆ แบบนี้ แม้จะมีหลักการที่ดูดี แต่มีความจำกัดอยู่มาก จุดอ่อนที่สำคัญคือการนำเสนอหลักคิดในการอธิบายโลก แบบดำขาว ดีชั่ว ตายตัว และง่ายไป

ทฤษฎีพื้นฐานที่ผมใช้ในปัจจุบันคือ ทฤษฎี CHAOS ถ้าแปลเป็นภาษาไทย น่าจะแปลว่า ทฤษฎีพลวัตที่พลิกผัน

ทฤษฎีนี้มีหลักคิดพื้นฐานว่า ทุกหน่วยชีวิต รวมทั้งระบบสังคม มีความซับซ้อน และความพลิกผันเป็นพื้นฐาน ในยามที่สังคมเคลื่อนสู่การเปลี่ยนผ่าน สภาวะวิกฤต หรือความพลิกผันจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ตำแหน่งแห่งที่ หรือสภาวะชนชั้น และชั้นชน ตลอดจนความสามารถในการแยกแยะถูกผิด ดีชั่ว สับสนไปหมด

บรรดาผู้คนที่เป็นนายทุนศักดินาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นพวกหัวเก่าล้าสมัยเสมอไป พวกเขาอาจจะหันไปสนใจปัญหาใหม่ๆ อย่างเช่น การคำนึงถึงเรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อม และวิกฤตวัฒนธรรมอย่างมากๆ

บรรดาทหารในยุคนี้ก็กลัวจะถูกหาว่าเป็น “เผด็จการ” อย่างมากๆ จนทำอะไรไม่ถูก และที่สำคัญการรัฐประหารครั้งนี้พลังที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังอำนาจของทหารคือ ทุนศักดินา และชนชั้นกลางที่ขัดแย้งกับฝ่ายทักษิโณมิกส์ ทั้งทุนศักดินาและชนชั้นกลางก็ล้วนปฏิเสธ หรือไม่สนับสนุนที่จะให้การเมืองไทยกลับสู่ยุคเผด็จการทหารอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ ในยุคโลกาภิวัตน์ ฐานะชนชั้นในระบอบเศรษฐกิจการเมืองก็พลิกผันไปอย่างมาก อย่างเช่น

บรรดา CEO ซึ่งมีฐานะเป็นลูกจ้างบริษัทขนาดใหญ่ บรรดานักกีฬาฟุตบอล และนักแสดงที่โด่งดังซึ่งมีค่ายสังกัดแน่นอน แม้จะมีฐานะเป็นลูกจ้าง หรือผู้ขายแรงงาน อาจจะร่ำรวยกว่าบรรดานายทุนเสียอีก

บรรดานักธุรกิจนายทุนจำนวนมากก็เลิกคิดเป็นนายจ้างหรือนายทุนที่หากำไรจากการจ้างงานไปแล้วเพราะสามารถเล่นหุ้นและเล่นเงินแบบเก็งกำไร จนกลายเป็นนักเล่นการพนันประเภทหนึ่งซึ่งสามารถทำกำไรมากกว่าการลงทุนอุตสาหกรรม

นี่คือ สภาวะโลกในยุคปัจจุบันที่พลิกผันอย่างยิ่ง

ที่สำคัญ ทฤษฎี CHAOS เสนอว่า บรรดาระบบสังคมที่พลิกผันอย่างยิ่งจะเคลื่อนตัวแบบไม่เป็นเส้นตรง แต่จะสวิงตัวแบบสุดๆ กลับไป กลับมา

สวิงไปทางซ้ายสุด แล้วก็หวนกลับมาทางขวาสุด

สิ้นช่วงอำมาตยาธิปไตยแล้ว ประชาชนไทยก็จะได้เผชิญหน้ากับระบอบประชาธิปไตยคอร์รัปชันอีก แล้วหลังจากนั้น เราก็ต้องช่วยกันโค่นระบอบประชาธิปไตยสกปรกกันใหม่ ถึงเวลานั้น ระบอบอำมาตยาธิปไตยก็มีโอกาสพลิกกลับมาใหม่อีก

นี่คือ วงจรอุบาทว์ที่มักจะเกิดขึ้นในบรรดาประเทศโลกที่สาม ที่สวิงไป สวิงมา ไม่สิ้น ไม่สุด

วันก่อนไปกินข้าวกับเพื่อนเก่าคนหนึ่ง เพื่อนตั้งประเด็นว่า

“ผมไม่ขอยืนอยู่กับฝ่ายไหนทั้งนั้น ไม่ได้หรือ”

ผมตอบว่า

“ได้” และกล่าวต่อว่า “จริงๆ แล้วในยามวิกฤต มนุษย์มีอิสระ และมีทางเลือกมากมาย หรืออยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรก็ได้”

ผมขยายความต่อว่า

“ที่สำคัญ อย่ามองวิกฤตในแง่ร้าย เพราะไม่เช่นนั้น เราจะไม่เห็นคุณค่าของวิกฤต”

ทฤษฎี CHAOS จะมองว่า วิกฤตเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง แต่เราต้องรู้จักเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่สำคัญ “วิกฤต” สอนให้เราคิด คิด และคิด...........เพื่อหาทางออก ออกจากวัฏจักรที่ไร้ทางออก

ผมอธิบายให้เพื่อนฟังต่อว่า

“ในช่วงวิกฤต การเป็นอิสระ ไม่เป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราสามารถคิดค้นหาทางออกได้โดยไม่ติดยึดอยู่กับความเชื่อ ผลประโยชน์ และจุดยืนที่จำกัดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

เมื่อเราต้องเผชิญทางตัน การคิดค้นใหม่ๆมีค่าอย่างยิ่ง แต่ถ้าจะคิดสิ่งใหม่ๆ ได้ ก็ต้องกล้ารื้อทิ้งจุดยืน ทฤษฎี และความเชื่อเก่าๆ ก่อน”

นอกจากนี้ โลกในยามสงคราม (วิกฤตที่รุนแรง) มักจะเกิดทางเลือกสายใหญ่อยู่ทางหนึ่ง แต่ผู้คนมักมองไม่เห็น หรือไม่เห็นค่า

นี่คือ เส้นทางสู่สันติภาพ

อย่างเช่น ในช่วงสงครามเวียดนาม นักศึกษาอเมริกันหันมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสันติภาพ

พวกเขาก้าวผ่านความเชื่อเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้นและสงคราม และกลับหันมาเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าผิวพรรณใด ชนชั้นใด ประเทศไหน ต่างก็คือเพื่อนร่วมชะตากรรม หรือเพื่อนร่วมทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

ดังนั้น “ชุดความคิดที่หลงใหลในสงครามและการต่อสู้ทางชนชั้น” กับ “ชุดความคิดที่หลงเชื่อในเรื่องสันติภาพ” คือสองชุดความคิดที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

โลกทุกวันนี้ ยิ่งกระแสโลกเคลื่อนตัวสู่ “วิกฤต” และ “สงคราม”

ความเชื่อเรื่องสันติภาพ ก็ได้แพร่ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว และทั่วโลก

ผู้คนเริ่มตระหนักว่าการใช้ความรุนแรง หรือสงครามอาจจะไม่ใช่ “คำตอบ” หรือ “ทางออก”

แนวทางสันติภาพจะนำเสนอว่า มนุษย์ทุกคนในโลก ไม่ว่าชั้นชนใด ล้วนคือเพื่อนร่วมทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น และต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกันทั้งหมด อย่างไม่มีทางเลือก

คนทุกคนทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตใหญ่ทางธรรมชาติที่รุนแรงอย่างยิ่ง

คนทุกคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม และวัฒนธรรมร่วมกัน

คนทุกคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

คนทุกคนทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตสงครามซึ่งกำลังขยายตัวแบบก้าวผ่านพรมแดนมากขึ้นเรื่อยๆ

คนทุกคนทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตความยากจน และความอดอยาก

ในกรณีหลัง ดูราวว่าเฉพาะคนจนๆ เท่านั้นที่ต้องเผชิญวิกฤตความยากจน แต่อย่าลืมไปว่า เมื่อบรรดาคนจนอดอยากมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาต้องลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และช่วงชิงความมั่งคั่งจากบรรดาคนรวย

กล่าวโดยสรุป มนุษยชาติทุกคนกำลังจะต้องเผชิญวิกฤตใหญ่หลายวิกฤตพร้อมๆ กัน และร่วมกัน

นี่คือ ชะตากรรมร่วมของมนุษยชาติ ไม่ว่าคนคนนั้นจะเกิดในชนชั้นใด มีผิวพรรณสีใด อยู่ในประเทศไหน และมีจุดยืนอย่างไร

เวลานี้ ทุกสภาวะวิกฤตที่กล่าวข้างต้นกำลังอยู่ในช่วงขยายตัวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ระบบสังคมทั้งระบบก็จะเกิดการพลิกผันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลให้มนุษยชาติก้าวสู่ช่วงประวัติศาสตร์กลียุคใหญ่ หรือ CHAOS ใหญ่ ที่กำลังก่อตัวขึ้น ณ จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์

จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์คือ ช่วงจังหวะที่เกิดสภาวะวิกฤตหนักหน่วง และพลิกผันอย่างสุดๆ

เรากำลังก้าวย่างถึงจุดๆ นั้น

นี่คือ ชะตากรรมร่วมของมนุษยชาติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก (โปรดติดตามตอนต่อไป ชะตากรรมร่วมของคนไทยทั้งแผ่นดิน)

Friday, August 17, 2007

The New Face of Revolution

From Adbusters #55, Sept-Oct 2004

Perhaps you can hear it from where you’re sitting now: that low, distant rumble, growing clearer and closer as you focus on it. Perhaps you can see the storm clouds on the horizon. Out there, change is coming.

This is not empty rhetoric. All over the world, there is a revolution brewing. It’s not a revolution in the sense that the twentieth century has taught us to understand the word: not a massing of red flags this time, not a determination to seize the state, not a gathering of Peoples’ Parties with blueprints for a new Utopia. This is something that is harder to explain at first sight, but no less significant.

It’s clear why it is happening: the world is more unequal than at any time in history. A planet in which 20 percent of us are rolling in 86 percent of the wealth, while the very systems of life itself come under increasing strain from mass over-consumption, is not a civilization built to last. The uprising against it began years ago, and it’s gathering in speed.

What used to be called, inaccurately, the ‘anti-globalization’ movement has become a worldwide web of people and groupings dedicated to reclaiming the power that the cult of the market has stolen from them.

They see how the stealing of that power has affected their communities, and as they do so, they see what their causes, their battles and their problems have in common with those elsewhere in the world. They have become a movement – the first genuine global movement of its kind – and they are still growing. Two hundred thousand of them gathered at the World Social Forum in Mumbai, India, this year, and they represent the tip of a political iceberg that is tens of millions strong.

Who are they? They are Mexican Zapatistas, still battling after a decade to reclaim their community rights from the corporate stitch-up of nafta. They are the South African poor in the townships fighting water privatization. They are landless people all over Latin America, struggling to redefine their position in a corporate farming world. They are local activists in the US, using the law to drive corporations out of their small towns. They are farmers in India, resisting corporate patents and the market-driven food industry. They are tribal people in New Guinea, resisting the corporate enclosure of their land for mining and oil drilling. They are young Europeans trying to rethink resistance to capitalism in the shadow of communism’s spectacular failure.

What is new, and gives cause for hope, is the widespread awareness that old answers will no longer do. Few people involved in this new wave of resistance are very interested in seizing the state. They see where that has taken us in the past, and they also see that globalization has undercut the ability of governments to run their own national economies. In almost every country on Earth, political parties of left, right or center now pledge themselves to the gods of the market. What this new wave of revolutionaries wants is the chance to create its own spaces, free of the rule of the market. If the state can’t deliver that, other ways must be found.

In other words, this is a power struggle. We can talk about nafta, about the wto, about corporations – but at the heart of it all is an age-old human battle over resources, power and the public mind. Money is currently winning that battle. Societies everywhere are becoming markets first and communities second. We become consumers above all, and only then are
we given permission to be human.

This movement seeks to make us people first, to drive the market back into its cage. It can be seen, perhaps, as a battle for the public over the private mind. Who wins it – movement or market – will determine our future. It could be our last, best chance to avoid the McWorld that so many of us can see around the corner.

The movement exists on every continent, but it has no global manifesto because it seeks, in the words of Subcomandante Marcos, “a world with many worlds in it.” Both communism and neoliberalism gave us universal blueprints for prosperity and both failed us. This time, we can’t afford to be fooled by ‘Big Ideas’ that are built around theory and not reality. We can’t afford it because, as the global economy spreads into every nook and cranny of a previously unmarketed world, resistance spreads too.

Perhaps you think that this resistance, and the determination to build a new world based on new values which flows in its wake, is something that just happens to other people, somewhere else in the world. Think again. Wherever you live, it’s coming your way, and it’s coming fast. There has never been anything quite like this before, and as long as the global economy continues to move in its current direction, spreading poverty, inequality, exclusion and environmental destruction in its wake, this rebellion can only grow. Keep your eyes on the horizon, and get ready.

Paul Kingsnorth is the author of One No, Many Yeses: A Journey to the Heart of the Global Resistance Movement (Free Press).

Making another world possible.

From Adbusters #57, Jan-Feb 2005

There is an expanding chasm between rich and poor, looming environmental calamities, global terror seemingly growing in tandem with global markets. Now look at art being made today. Is art playing a vital role in mounting resistance to these forces? Does it have the capacity to catalyze social change? Or is artist Martha Rosler right when she says, "The total freedom of the artist in Western society also ineluctably signals total irrelevance"? As artists like Sam Durant are quick to point out, "art is an effective method of resistance and change - just as it is an effective tool for the maintenance of power or the status quo." But some recent strategies of artmaking are working to tip the balance to progressive change.

One shares its name with an exhibition on view at Massachusett's MASSMoCA through March 2005: The Interventionists. These artists seek to "enter physically," writes Nato Thompson in the show's catalog: "that is, they place their work into the heart of the political situation itself." By changing the context - going into the streets or bringing the "real world" into the gallery - art makes the much-touted, yet little realized, leap between art and life. For example, the exhibition features mobile shelters for the homeless created by Krzysztof Wodiczko and the Danish art group n55 that could easily be relegated to a museum show on design. But fabricated for actual use outside the gallery, these constructions serve dual roles of giving practical help to the homeless while using aesthetic means to raise the visibility of the easily overlooked urban poor.

Well known to culture-jammers is a form of intervention described by the Situationist term detournement. "One tactic is not to present something that we all recognize as shocking, but to present the shocking aspect of what is comfortably familiar; or to defamiliarize the commonplace," writes Jean Fisher in the catalogue for Documenta 11, a recurring exhibition in Kassel, Germany, that frequently addresses geopolitical concerns. This flip is demonstrated by Mexico City-based artist Minerva Cuevas who has repurposed corporate mechanisms, from consumer brands to the very structure of a corporation, to "make information available, readable . . . and to translate social campaigns into their visual or graphic form." In an early project, Cuevas founded the Mejor Vida (Better Life) Corporation, a nonprofit once housed in Mexico City's tallest trade tower, to do work that doesn't compute in bottom-line-driven circles: give away unscratched lottery tickets (and any winnings), distribute barcode stickers to give shoppers fair prices at supermarkets, create MVC student IDs so cardholders can get free admission at publicly funded museums and discounts on public transportation. In one of Cuevas' more recent projects, she spotlights little-known American history: in 1954, the CIA backed a coup in Guatemala that overthrew a democratically-elected leader who sought to nationalize the powerful United Fruit Company. Cuevas' wall-sized mural features a Del Monte label for canned tomatoes with red juice flowing onto the gallery floor, puddling like blood. Accompanied by the words "Pure Murder," she references either the CIA's assassin trainings or the half century of violence the coup triggered - or both.

While such work responds to current events, it’s not reactionary. So unlike earlier forms of protest-based art, it goes beyond proposing the inverse of that which it opposes, to deconstructing the underlying memes. Forgoing the binary view of Del Monte (the company that bought United Fruit’s land when it folded), she complicates the reassuring design of a corporate label, hinting that the “purity” of our food includes not just its ingredients but the practices by which it’s harvested and sold in the global marketplace as well. The problem with oppositionality, writes Fisher, is that, “by itself, it seldom sustains a change in perception because it leaves the basic structure or system intact: the system is well able to absorb any message, provided its code remains unchanged.” But by making alternate narratives, the memes can be exposed and, hopefully, eroded.

That seems to be the motive of Paul D. Miller (aka DJ Spooky) in his recent project Rebirth of a Nation. An experimental musician and hip-hop artist, Miller has made a high-tech reinterpretation of the 1915 film The Birth of a Nation, the explicitly racist tale by D.W. Griffith long used in recruiting by the Ku Klux Klan. Using the DJ’s toolbox, Miller sliced and diced a troublesome film – a “cinematic classic” that, because of its innovative editing and camera angles, is one of the American Film Institute’s Top 100 American films of all time – overlaying hypnotic digital graphics and film footage (including a Bill T. Jones dance work based on African-American history) with a soundtrack of hip hop, dub, live violin, and ambient sounds. By reworking the film’s DNA through an artform developed in large part by African-Americans, Miller reclaims the techniques of montage and intercutting, while also “taking back” the history appropriated by Griffith. “Basically I’m holding the remix of the film up to America in a way that says, ‘Another world is possible,’” Miller explains. “How do you make it real?”

And that's art's strength - it creates a language of possibilities for our consideration, "endless alternatives," as Walker Art Center curator Philippe Vergne says. To ask it to be something else is wrongheaded. After all, it's art, not advertising, entertainment, or electoral politics. We don't hold our poets accountable for the effectiveness of their verse nor do we judge the aesthetic standards of our senators. But when art is successful - when it moves its viewers to act - it feeds a network of others who are using various tools, from protest to policy, voting to community organizing. "Art is a part of the struggle," says Durant. "It isn't itself the cause of some radical change but can be part of the movement for revolutionary change and social justice."

Paul Schmelzer

ความพ่ายแพ้ของนักฝัน

รู้สึกท้อแท้อย่างบอกไม่ถูก
ความรู้สึกอึดอัด ทำอะไรไม่ได้ค่อยๆ สั่งสมเพิ่มพูนมากขึ้นทีละน้อย
ผมเป็นคนช่างฝัน คิดว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นนะ
ผมมักจะฝันอยากให้เกิดโน่นเกิดนี่ ทั้งในชีวิตตนเองและสังคมอยู่เสมอ
และมักจะแบ่งปันฝันให้หลายคนได้รับรู้อยู่เสมอ
หลายปีที่ใช้ชีวิตเป็นนักฝัน
เรียนรู้ที่จะแบ่งฝันให้คนอื่น รวมทั้งรับฝันคนอื่นมาฝันต่อ
ได้เรียนรู้ว่าหากฝันเราใหญ่พอ เราก็จะมีผู้ร่วมฝันจำนวนมาก

ทำงานมาหลายปีค่อยๆ ก่อรูปฝันให้เป็นจริงทีละเล็กทีละน้อย
เรียนรู้และเติบโตกับการลองผิดลองถูก
สนุกกับความล้มเหลวนับไม่ถ้วน
พองโตกับความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ
กระทั่งปัจจุบันมีกลุ่มก้อนของคนที่ฝันคล้ายคลึงกันอยู่กลุ่มหนึ่ง

แต่นั่นเป็นเรื่องที่ผมคิดไปเองหรือเปล่า
ผมคิดไปเองว่าคนอื่นก็เป็นนักฝัน ที่อยากเห็นอะไรๆ ดีขึ้น
พร้อมลงทุนชีวิตที่จะวิ่งตามฝัน
ผมเพ้อฝันว่าคนกลุ่มเล็กๆ ที่ผมอยู่ด้วยนั้นเป็นนักฝันที่มีพลัง

แต่ความจริงก็เปิดเผยให้เห็นโลกอันโหดร้าย
คนกลุ่มที่ผมอยู่ด้วยนั้น
มีความสุขอยู่กับการเฝ้าบอกตัวเองว่าทำอะไรไม่ได้ เพราะเหตุผลต่างๆ สามแสนประการ
มีชีวิตอยู่กับเรื่องราวเดิมๆ ที่ตนเองทำอยู่ แต่พร้อมจะพูดจาด้วยภาษาของนักฝัน
รักความมั่นคงยิ่งกว่าการสร้างสรรค์ รักชีวิตเดิมๆ มากกว่าการเปลี่ยนแปลง
เรียนรู้ที่จะโทษคนอื่นมากกว่าจะเรียนรู้ที่จะทำสิ่งใหม่
โลกที่ความจริงมีอำนาจเหนือความฝันมันโหดร้ายถึงเพียงนี้

ในที่สุดความรู้สึกด้านลบที่ผมพยายามแปรเปลี่ยนให้เป็นพลังด้านบวกก็เอาชนะผมจนได้
ผมกลายเป็นคนแบบนั้นไปด้วยโดยไม่รู้ตัว
นี่หรือเปล่าที่เขาเรียกว่าพลังของชุมชน ใกล้ชาดกลายเป็นแดง ฯลฯ

ผมพ่ายแพ้ให้แก่"นายพ่ายแพ้"ในตัวเอง "นายชนะ" หลบหายไปในซอกหลืบของความหม่นหมอง
ผมจะทำอย่างไรดี
- ออกจากชุมชนห่วยๆ นี้ไปซะ
- ปลุกพลังตนเองขึ้นมาใหม่ ตามหานายชนะให้เจอ
- เรียนรู้ที่จะทำงานโดยคาดหวังให้น้อยลง เชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์ปัจจุบันให้น้อยลง
- อะไรดีหนอ อะไรดี

อยากเปลี่ยนแปลงโลกแต่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแม้แต่ชีวิตตนเอง...

Thursday, August 16, 2007

กลับมาแล้ว

กลับมาเยี่ยมเยียนบลอกตัวเองอีกครั้ง
หลังจากหายไปนาน ไปสร้างบลอกที่อื่นเยอะแยะ
แต่ก็คิดถึงที่นี่อยู่เสมอ
คงจะกลับมาอีกเรื่อยๆ